loading
ศ.ดร.นพ. วิปร วิประกษิต และคณะ ในนาม Thailand COCID-19 Response Team (TCRT)ได้เดินทางไปที่กรมควบคุมโรคในช่วงเช้าครับ เพื่อแสดงการใช้งาน “รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย”


วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2563 ผม ศ.ดร.นพ. วิปร วิประกษิต และคณะ ในนาม Thailand COCID-19 Response Team (TCRT)ได้เดินทางไปที่กรมควบคุมโรคในช่วงเช้าครับ เพื่อแสดงการใช้งาน “รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย”
ให้ท่านผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ท่านผู้ช่วยผู้อำนวยการกองโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าใจครับ
ช่วงบ่าย ผมกับทีม ได้ตามรถไปสอนการใช้กับทีม ของสถาบันป้องกันโรคในเขตเมือง(สปคม) กรมควบคุมโรคครับ ซึ่งได้รับมอบหมายให้นำรถคันนี้ไปใช้ประโยชน์ในการเก็บตัวอย่างในชุมชนต่อไปครับ
ทาง ผอ. เอนก และ นพ. นาธาน ผู้รับผิดชอบให้การต้อนรับเป็นอย่างดีมากๆครับ ผมขอขอบพระคุณท่านทั้ง 2 มา ณ. ที่นี้  
ท่านแจ้งว่ารถคันนี้จะเข้ามาตอบโจทย์การตรวจหา active case finding ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ชุมชนแออัดครับ และกลุ่มแรงงานต่างชาติ กลุ่ม 3 จังหวัด ที่เข้าถึงพื้นที่ได้ยากครับ และบดความแออัดและการเดินทางเข้ามารับบริการใน โรงพยาบาล ที่สำคัญมีความปลอดภัยกับผู้บริการ และไม่สร้างการแพร่กระจายเชื้อไปในสิ่งแวดล้อมครับ 
ผมดีใจเป็นอย่างยิ่งที่สิ่งที่ผมและคณะทำจะเป็นประโยชน์ กับประเทศชาติและประชาชน เพื่อให้พวกเราสู้กับมหันตภัยโควิด-19 ไปด้วยกันครับ 
รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit)
เป็นผลงานความคิดริเริ่มของ ศ. ดร. นพ. วิปร วิประกษิต จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะ
ในนามกลุ่ม Thailand COVID-19 Response Team (TCRT) ที่ออกแบบและจัดสร้าง รถเก็บตัวอย่างที่เป็น ตู้ชีวนิรภัย (biosafety unit) ติดตั้งอยู่บนด้านหลังรถกระบะดัดแปลงแบบตอนเดียว ที่สามารถจัดสร้างได้อย่างรวดเร็วและมีประโยชน์เพื่อใช้ในการเก็บตัวอย่างทั้งการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการเก็บตัวอย่างจากคอหอย (nasopharyngeal swab)หรือจากคอ (throat swab) หรือการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว 
ตู้นิรภัย จะมีระบบปรับและกรองอากาศด้วย HEPA filter และระบบความดันบวก (positive pressure) เพื่อป้องกันแพทย์หรือนักเทคนิคการแพทย์ผู้เก็บตัวอย่างจากภายในรถไม่ให้ติดเชื้อโควิด โดยไม่จำเป็นต้องใช้ชุด PPE เพื่อป้องกัน ซึ่งจะเป็นการประหยัดการใช้ชุดและปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติหน้าที่
นอกจากนี้ รถเก็บตัวอย่างยังมีระบบทำความสะอาดตัวเองทั้งการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อในตำแหน่งที่เก็บตัวอย่าง ภายหลังบริการเก็บตัวอย่างแต่ละราย และมีระบบโอโซนเพื่อทำความสะอาดภายในตู้นิรภัยภายหลังการเก็บตัวอย่างแต่ละวัน 
รถดังกล่าวสามารถควบคุมการทำงานของระบบปรับความดันและอุณหภูมิอากาศผ่าน application ในโทรศัพท์มือถือ แบบ smart safety mobile unit 
รถเก็บตัวอย่างมีความสามารถในการรองรับการเก็บตัวอย่างได้ มากกว่า 500-1000 ตัวอย่างต่อวัน สามารถนำไปใช้เก็บตัวอย่างในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก เพื่อลดปัญหาความแออัดในสถานพยาบาล และเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มการตรวจบุคคลกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ในทุกภูมิภาคของประเทศ