
วันนี้แอท-ยีนส์มาแนะนำการตรวจตัดกรองโรคสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ทั้ง 3 ไตรมาส ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนคลอด จบในโพสนี้โพสเดียว
ตรวจไตรมาสที่ 1
1.การตรวจเลือด เพื่อระบุกลุ่มเลือด และหาความเสี่ยงของการเป็นพาหะโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคอีสุกอีใส ไวรัสตับอักเสบบี เอชไอวี ซิฟิลิส และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2.ตรวจอุ้งเชิงกราน เป็นการตรวจคัดกรองปากมดลูก เพื่อหาความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด
3.ตรวจปัสสาวะ เพื่อหาสัญญาณการติดเชื้อที่ไต โรคไตบางชนิด โรคเบาหวาน หรือการรั่วของโปรตีน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีสาเหตุจากภาวะความดันโลหิตสูง
4. ตรวจ NIPT นวัตกรรมการตรวจคัดกรองลูกน้อยในครรภ์แบบใหม่ที่นิยมใชกันมากขึ้น เนื่องจากสามารถตรวจหาความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ได้จากเลือดคุณแม่ โดยไม่มีผลกระทบต่อลูกน้อยหรือไม่มีความเสี่ยงต่อการแท้ง คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถรับการตรวจ NIPT ซึ่งเป็นการตรวจที่ปลอดภัยและมีความแม่นยำสูง ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด กลุ่มอาการพาทัวร์ และยังสามารถบอกโครโมโซมเพศของลูกน้อยให้คุณแม่รู้ได้อีกด้วย
ตรวจไตรมาสที่ 2
1.อัลตราซาวด์ คุณหมออาจใช้วิธีอัลตราซาวด์เพื่อฉายให้เห็นภาพภายในมดลูก ทำให้ทราบถึงภาวะต่าง ๆ เช่น ความสมบูรณ์ของทารก ตำแหน่งการเกาะของรก ปริมาณน้ำคร่ำ การเจริญเติบโตของทารก การไหลเวียนเลือดไปยังลูกน้อย
2.เจาะน้ำคร่ำ เป็นการตรวจที่บอกความเสี่ยงของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมได้อย่างแม่นยำ บอกเพศและความผิดปกติต่างๆ ได้ถูกต้อง แต่การเจาะน้ำคร่ำถือเป็นหัตถการที่ ”มีความเสี่ยงต่อการแท้งลูก” เนื่องจากต้องใช้เข็มเจาะทะลุผ่านหน้าท้องคุณแม่ ทำให้ปัจจุบันการเจาะน้ำคร่ำ จะใช้เมื่อจำเป็นต้องหาผลแน่นอนเท่านั้น หรือเมื่อคุณแม่ตรวจ NIPT แล้วพบความผิดปกติถึงจะมีการเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันผลเท่านั้น
3.ตรวจน้ำตาลในเลือด ปกติคุณหมอจะเริ่มตรวจเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ระหว่าง 24-28 สัปดาห์ เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่อาจทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวมาก ขนาดใหญ่เกินไป นำไปสู่การคลอดบุตรยาก
4. การตรวจ NIPT เพื่อตรวจคัดกรองดูความเสี่ยงดาวน์ซินโดรมและอื่นๆของลูกน้อยในครรภ์จากเลือดคุณแม่ ซึ่งหากคุณแม่ไม่ได้ทำในช่วงไตรมาสที่ 1 ก็สามารถทำในไตรมาสที่ 2 ได้ และยิ่งอายุของแม่มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็ยิ่งสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันแม้คุณแม่จะมีอายุน้อยก็สามารถตรวจคัดกรองได้เพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้น
ตรวจไตรมาสที่ 3
1.ตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ ตรวจหาโปรตีน และน้ำตาล เพื่อดูสัญญาณการติดเชื้อ ภาวะครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และโรคโลหิตจาง
2.อัลตราซาวด์ ดูน้ำหนักตัวของทารก การเคลื่อนไหว การหายใจ กล้ามเนื้อ ปริมาณน้ำคร่ำของทารก และตำแหน่งของรก
3.ตรวจอุ้งเชิงกราน ในช่วง 1-2 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะตรวจอุ้งเชิงกราน เพื่อดูว่าปากมดลูกมีความพร้อมคลอดบุตรหรือไม่
4.ตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ คุณหมอจะใช้หัวตรวจเพื่อติดตามเสียงหัวใจทารก ร่วมกับหัวตรวจที่ติดตามการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อวัดอัตราการเต้นหัวใจของทารกควบคู่ไปกับการทำงานของมดลูก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
หวังว่าคุณแม่ทุกท่านจะได้รับประโยชน์เรื่องการคัดกรองโรคและกลุ่มอาการต่างๆในช่วงการตั้งครรภ์ได้มากขึ้นและที่สำคัญในช่วงของการตั้งครรภ์คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของคุณหมออย่างเคร่งครัด